โยโกฮามา เมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และนั่นก็เปิดโอกาสให้กีฬาฟุตบอลได้ยกพลขึ้นบกมาพร้อมๆกับเหล่าทหารเรือที่กองทัพอังกฤษ ในช่วงศตวรรษที่ 19 จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองนี้จะมีชื่อเรียกว่า “มารินอส” หรือ “เซเลอร์ส” ในภาษาสเปน ซึ่งก็คือ กะลาสี หรือ ทหารเรือนั่นเอง
สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี 1972 ในนามของบริษัท นิสสัน มอเตอร์ หลังจากนั้นก็ไต่ระดับจากลีคภูมิภาค กลายมาเป็นมหาอำนาจแห่งวงการฟุตบอลประเทศญี่ปุ่นที่กวาดแชมป์ระดับประเทศ ในปี 1989 แล้วก็ 1990
หลังจากเปลี่ยนชื่อมาเป็น โยโกฮามา มารินอส และเป็นสโมสรแรกที่เข้า เจลีก ในปี 1991 ต่อมาในปี 1992 ก็คว้าถ้วย เอมเพอเรอร์คัพ เป็นรางวัลแรกในระดับสโมสรอาชีพ
ฤดูกาลแรกที่เรียกได้เต็มปากเต็มคำว่าเป็นฟุตบอลระดับอาชีพ เริ่มขึ้นในวันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 1993 มารินอส ลงเล่นในนัดเปิดสนามและเฉือนชนะคู่แข่ง เวอร์ดี คาวาซากิ ไปได้ด้วยสกอร์ 2-1
แต่พวกเขาต้องรอมาจนถึงปี 1995 กว่าจะมาได้แชมป์เจลีกเป็นครั้งแรก จากการปราบ เวอร์ดี คู่ปรับรายสำคัญลงได้ใน เลกที่สองรอบชิงชนะเลิศ จากการที่ก่อนหน้านั้นมารินอสคว้าชัยชนะของสเตจแรกมาได้
จากการยุบทีมของคู่แข่งร่วมเมืองอย่าง โยโกฮามา ฟูเกลส์ ตอนจบฤดูกาล 1999 มารวมกับ มารินอส ทำให้พวกเขาตัดสินใจเติมอักษร “F” ลงไปในด้วย และนั่นก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดชื่อทีมในปัจจุบัน
ยุคทองมารินอสเริ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2000 ด้วยการคว้าแชมป์ต่อเนื่องกันในปี 2003 และ 2004 เช่นเดียวกับที่พวกเขาเคยทำได้ใน ยามาซากิ นาบิสโกคัพ ปี 2001
นอกจากจะเป็นอันดับหนึ่งของการบ่มเพาะผู้เล่นเพื่อนป้อนให้แก่ทีมชาติประเทศญี่ปุ่นชุดสู้ศึกฟุตบอลโลก พวกเขายังเป็นทีมยอดนิยมสูงที่สุดในเจลีกเสมอมา แม้ช่วงหลังจะร้างราตำแหน่งแชมป์มานานแล้วก็ตาม
สนามเหย้าของสโมสรโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
ด้วยการเดินเพียงแค่ 15 นาทีจากสถานนีรถไฟฟ้า ชิน-โยโกฮามา, นิสสัน สเตเดียม อีกหนึ่งความภูมิใจของคนญี่ปุ่น ที่รองรับแฟนบอลได้มากถึง 72,000 คน เปิดทำการในปี 1998 ที่นั่ง 2 ชั้นทั้ง 2 ฝั่งของสนามและลู่วิ่งที่ล้อมรอบสนามฟุตบอลแห่งนี้เคยทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2002 มาแล้ว และในรอบชิงชนะเลิศ ที่บราซิลคว้าชัยเหนือเยอรมัน 2-0 ก็เกิดขึ้นที่นี่ นอกจากนี้บางครั้งยังถูกใช้งานเพื่อรองรับทีมชาติญี่ปุ่นอีกด้วย
แต่เมื่อใดที่รังเหย้าหลักของพวกเขาไม่สามารถใช้งานได้ มิตสึซาวา สเตเดียม ที่อยู่ใกล้กันจะเป็นตัวเลือกที่พวกเขาใช้แทน แม้ว่าจะแออัดคับแคบกว่ากันเนื่องจากมีความจุเพียงแค่ 15,000 แต่ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยรถบัส
ชุดที่ใส่แข่งขันและสีเสื้อของสโมสรโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
มารินอสใช้เสื้อสีน้ำเงินและแดง กางเกงสีขาว ซึ่งนั่นทำให้ “Tricolore” กลายเป็นชื่อเรียกแฟนคลับของพวกเขา การออกแบบส่วนมากในหลายปีที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่ดึงเอาส่วนประกอบมาจากชุดแต่งกายของกะลาสีเรือ และในช่วงหลังก็ได้เพิ่มลวดลายของนกนางนวล และสมอเรือเข้าไปด้วย
ดาราเด่นของสโมสรโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
กัปตันทีมคนแรกของ โยโกฮามา เอฟ มารินอส คือ คาสุชิ คิมูระ ในวัย 34 ปีเขาพาทีมเปิดตัวในเจลีกได้อย่างยิ่งใหญ่ และปัจจุบันนี้ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นกุนซืออีกด้วยเช่นเดียวกับ รามอน ดิแอซ ผู้เล่นที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งในเวลานั้น ซึ่งเป็นคนที่มีโอกาสได้กอดถ้วยดาวซัลโวในปี 1993 ด้วยการยิง 28 ประตูในเจลีก
มาซามิ อิฮารา เซ็นเตอร์แบ็คผู้สง่างามที่ค้าแข้งกับ มารินอสอยู่นับสิบปี อีกทั้งเป็นกัปตันทีมคนสำคัญในประวัติศาสตร์ที่นำทัพซามูไรบลูไปสัมผัสบรรยากาศของฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 1998
โยชิคัตสึ คาวางูจิ ป้องกันประตูให้มารินอสในช่วงปี 1995-2001 ก่อนจะไปเสี่ยงโชคที่แผ่นดินอังกฤษกับพอร์ทสมัธ ต่อมาภายหลังคาวางูจิ กลับมาที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมทีม จูบิโล อิวาตะ และลงเล่นในเจลีกรวมแล้วมากกว่า 400 นัด
อีกรายที่เริ่มต้นอาชีพกับ โยโกฮามา ซึ่งต้องนับว่าเป็นผู้เล่นที่น่าอัศจรรย์คนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เขาคือ ชุนซุเกะ นาคามูระ ที่ไปโลดเล่นและประสบความสำเร็จกับหลายสโมสรในยุโรป ทั้ง เรจจินา , กลาสโกว์ เซลติก และ เอสปันญอล ปัจจุบันเขาก็ได้กลับมาช่วยทีม โยโกฮามา เอฟ มารินอส และทำผลงานได้ดีทีเดียว
แนวรับเปี่ยมพรสวรรค์คนต่อมาคือ ยูจิ นาคาซาวา หนึ่งในวีรบุรุษของทีมชาติประเทศญี่ปุ่นในเวทีฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้
สำหรับผู้เล่นต่างชาติคนที่น่าจดจำคนหนึ่งต้องยกให้ มาควินญอส ผู้ที่ทำประตูสูงสุดตลอดการเป็นอันดับ 4 ด้วยการทำทั้งหมด 130 ประตู
รายชื่อนักเตะทีมโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ฤดูกาล 2020
รายชื่อผู้รักษาประตูของทีมโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
เบอร์เสื้อ | นักเตะ | ตำแหน่ง | สัญชาติ | อายุ |
21 | ยูจิ คาจิคาวะ | ผู้รักษาประตู | ญี่ปุ่น | 29 |
34 | ฮิโรซึกุ นากาบายาชิ | ผู้รักษาประตู | ญี่ปุ่น | 34 |
31 | พาวเวลล์ โอบินน่า โอบิ | ผู้รักษาประตู | ญี่ปุ่น | 23 |
32 | โยเฮย์ ทาคาโอกะ | ผู้รักษาประตู | ญี่ปุ่น | 24 |
50 | ริคุ เทราคาโดะ | ผู้รักษาประตู | ญี่ปุ่น | 18 |
5 | ธีราธร บุญมาทัน | เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 30 |
16 | เรียว ทาคาโนะ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 26 |
48 | ชุนสุเกะ ฮิราอิ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 18 |
15 | มากิโตะ อิโต้ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 28 |
36 | เรียวทาโร่ สึโนดะ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 21 |
28 | Kosei Suwama | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 17 |
19 | ยูกิ ซาเนโตะ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 31 |
44 | ชินโนสุเกะ ฮาทานะกะ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ญี่ปุ่น | 25 |
13 | ติอาโก้ มาร์ตินส์ | เซ็นเตอร์แบ็ค | บราซิล | 25 |
27 | เคน มัตสึบาระ | แบ็คขวา | ญี่ปุ่น | 27 |
25 | ริวตะ โคอิเกะ | แบ็คขวา | ญี่ปุ่น | 25 |
8 | ทาคุยะ คิดะ | มิดฟิลด์ตัวรับ | ญี่ปุ่น | 26 |
42 | เคย์ตะ อูเอดะ | มิดฟิลด์ตัวรับ | ญี่ปุ่น | 18 |
6 | ทาคาฮิโระ โอกิฮาระ | มิดฟิลด์ตัวรับ | ญี่ปุ่น | 29 |
33 | ทาคุยะ วาดะ | มิดฟิลด์ตัวรับ | ญี่ปุ่น | 30 |
26 | โคตะ วาตานาเบะ | มิดฟิลด์ตัวกลาง | ญี่ปุ่น | 22 |
7 | ยูกิ โอตสึ | มิดฟิลด์ตัวรุก | ญี่ปุ่น | 30 |
9 | มาร์กอส จูเนียร์ | มิดฟิลด์ตัวรุก | บราซิล | 27 |
49 | เรียวโนสุเกะ คาบายามะ | มิดฟิลด์ตัวรุก | ญี่ปุ่น | 18 |
39 | จุน อามาโนะ | มิดฟิลด์ตัวรุก | ญี่ปุ่น | 29 |
40 | Riku Yamane | มิดฟิลด์ | ญี่ปุ่น | 17 |
47 | Yusuke Nishida | กองหน้า | ญี่ปุ่น | 17 |
43 | เออิทาโระ มัตสึดะ | กองหน้าตัวริมเส้นด้านซ้าย | ญี่ปุ่น | 19 |
23 | เทรุฮิโตะ นากางาวะ | กองหน้าตัวริมเส้นด้านซ้าย | ญี่ปุ่น | 28 |
18 | โคตะ มิซูนูมะ | กองหน้าตัวริมเส้นด้านซ้าย | ญี่ปุ่น | 30 |
46 | ทาคุมิ สึคุอิ | กองหน้าตัวต่ำ | ญี่ปุ่น | 18 |
38 | ไดเซน มาเอดะ | กองหน้าตัวต่ำ | ญี่ปุ่น | 23 |
37 | จูเนียร์ ซานโตส | กองหน้าตัวเป้า | บราซิล | 26 |
17 | เอริค | กองหน้าตัวเป้า | บราซิล | 26 |
45 | อาโดะ โอนาอิวุ | กองหน้าตัวเป้า | ญี่ปุ่น | 25 |
เกียรติประวัติของทีมโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส
การแข่งขันภายในประเทศ
เจลีก ดิวิชัน 1 เป็นลีกระดับสูงสุดของ ฟุตบอลลีกอาชีพแห่งประเทศญี่ปุ่น และเป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพเจลีก ระดับสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในลีกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชีย และเป็นลีกเดียวที่ถูกจัดอันดับไว้ในคลาส A โดยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ชนะการแข่งขันมา 4 สมัยในปี ค.ศ. 1995, 2003, 2004, 2019
การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ หรือ ถ้วยพระจักรพรรดิ เป็นการแข่งขันฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น และเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น มีประวัติย้อนไปตั้งแต่ ค.ศ. 1921 ก่อนการก่อตั้งเจลีก ลีกฟุตบอลญี่ปุ่น (JFL) หรือลีกฟุตบอลญี่ปุ่น (JSL) โดยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ทีมจากเกาหลี ไต้หวัน และแมนจูกัวสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ด้วย ส่วนรายการของฟุตบอลหญิงนั้นคือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดินี และโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ชนะเลิศ 2 สมัยในปี ค.ศ. 1992, 2013
การแข่งขันในเอเชีย
เอเชียนคัพวินเนอร์คัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมสโมสรที่อยู่ภายใต้เอเอฟซีโดยในปัจจุบันการแข่งขันนี้ได้ถูกรวมเข้ากับ เอเชียนแชมเปียนส์คัพ และโยโกฮาม่า เอฟ มารินอส ชนะเลิศ 1 สมัยในปี ค.ศ. 1992–93