ประวัติสโมสร เอฟเวอร์ตัน
สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1878 โดยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลเซนต์โดมิงโกตามชื่อโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล และเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในปี ค.ศ. 1884 ในยุคก่อตั้งสโมสร เอฟเวอร์ตันใช้สนามแอนฟีลด์โรดเป็นสนามเหย้า โดยมี จอห์น โฮลดิง ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลิเวอร์พูลและสมาชิกสภาผู้แทนพรรคอนุรักษนิยมเป็นประธานสโมสร
เอฟเวอร์ตันคว้าแชมป์แรกได้ในฤดูกาล 1890-1891 ซึ่งในปีนั้น “ทอฟฟีสีน้ำเงิน” มีชุดทีมเป็นเสื้อสีชมพูอ่อน กางเกงสีฟ้า ถุงเท้าสีฟ้า และต่อมากลุ่มแฟนบอล เอฟเวอร์ตัน ได้เรียกร้องให้ใช้เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีขาว ถุงเท้าสีขาว เป็นชุดประจำสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 15 มี.ค.1892 ผู้บริหารสโมสรได้ตัดสินใจปลด จอห์น โฮลดิง ออกจากตำแหน่งและได้ย้ายทีมเอฟเวอร์ตันไปยังฝั่งตะวันตกของสแตนลีย์พาร์ก ซึ่งในสมัยนั้นเรียกพ้นที่บริเวณนั้นว่า กรีน เมอร์ ต่อมาสนามแห่งนั้นถูกเรียกชื่อตามถนน เป็นกูดิสันพาร์ก จนถึงปัจจุบัน ในฤดูกาล 1893-1894 แจ็ค เซาธ์เวิร์ธ เป็นดาวยิงสูงสุดของลีกอังกฤษ ด้วยจำนวน 27 ประตู ซึ่งอดีตนักเตะแบล็กเบิร์นโรเวอส์รายนี้ถือเป็นดาวซัลโวสูงสุดรายแรกของเอฟเวอร์ตัน
ฤดูกาล 1927-1928 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) เอฟเวอร์ตันได้สร้างสถิติที่ไม่มีใครลบได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อดิ๊กซี่ ดีน กองหน้าชาวอังกฤษทำประตูให้กับสโมสรได้ถึง 60 ประตูในหนี่งฤดูกาล และเป็นสถิติการทำประตูในหนึ่งฤดูกาลที่มากที่สุดในลีกอังกฤษ
เอฟเวอร์ตันเริ่มต้นยุคใหม่ในปี 1961 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) เมื่อได้จอห์น มัวส์ มหาเศรษฐีชาวเมืองลิเวอร์พูล ที่เป็นเจ้าของกิจการลิต เติลวูด พูล และ ธุรกิจการส่งของทางอากาศ เป็นประธานสโมสร โดยมี แฮร์รี แคทเทอร์ริค เป็นผู้จัดการทีม ซึ่ง เอฟเวอร์ตัน ยุคนั้นมี โฮเวิร์ด เคนดัลล์, อลัน บอลล์ และ โคลิน ฮาร์วีย์ เป็นกำลังสำคัญซึ่งทั้ง 3 พาทีมครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษได้อีกครั้งในฤดูกาล 1962-1963 ก่อนที่ แฮร์รี แคตเทอร์ริค จะลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ
หลังจากนั้น บิลลี บิงแฮม ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมแทน แคตเทอร์ริค แต่เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่เคยคว้าแชมป์ได้เลยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่คุมทีม จนในที่สุดบอร์ดบริหารได้ตัดสินใจปลด บิงแฮม ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง กอร์ดอน ลี มารับตำแหน่งแทน แต่ผลงานโดยรวมของ เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่ดีขึ้นแต่งอย่างใด
ในช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 เป็นการกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งของทีมสีน้ำเงิน เมื่อ ฟิลิป คาร์เตอร์ เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสร แทนที่จอห์น มัวร์ส และได้ดึง โฮเวิร์ด เคนดัลล์ เป็นผู้จัดการทีม โดยที่ เคนดัลล์ นำความสำเร็จมาสู่เอฟเวอร์ตันอีกครั้ง โดยพาทีมคว้าแชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1984 และสามารถเอาชนะลิเวอร์พูลในศึกแชริตี้ ชิลด์ ปีถัดมายังได้แชมป์ดิวิชั่น 1 มาครอง ในปี 1984-1985 โดยทิ้งลิเวอร์พูลอันดับ 2 ถึง 13 แต้ม และคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนส์คัพวินเนอร์คัพมาครอง ด้วยการ ถล่มราปิด เวียนนา จากออสเตรีย 3-1 ฤดูกาล 1986-87 เอฟเวอร์ตันกลับมาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดอีกครั้ง และเป็นครั้งล่าสุดที่ทำได้ ทศวรรษที่ 1990 เอฟเวอร์ตัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรอีกครั้งโดยมี ปีเตอร์ จอห์นสัน เข้ามาบริหารงาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมเป็น โจ รอยส์ , โคลิน ฮาร์วีย์ และ โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ซึ่งทั้งหมดคือดีตนักเตะของทีมนั่นเอง แต่ผลงานของทีมก็ไม่ดีขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวทีมได้แชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1995 เท่านั้น
โดยในฤดูกาล 2010-2011 เดวิด มอยส์ ได้เริ่มซื้อและยืมตัวนักเตะจากสโมสรชื่อดังในต่าง ๆ ในแต่ละประเทศเข้ามาเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น อริก ดิเออร์ จาก สปอร์ติงลิสบอน , แยน มูค่า นายประตูชาว สโลวาเกีย เป็นต้น โดยนัดแรกมอยส์ออกสตาร์ทฤดูกาลได้ไม่ค่อยดีนัก เมื่อเอฟเวอร์ตันเอาชนะคู่แข่งไม่ได้ถึง 6 นัด ซึ่งเป็นการแพ้ 3 นัดและเสมออีก 3 นัด โดยนัดแรกแพ้ให้กับ แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส ไป 1-0 ที่ อีวู๊ด พาร์ก และ มาเสมอกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอเรอส์ ในบ้านของตัวเอง 1-1 แต่มอยส์ก็สามารถสร้างความฮึกเหิมด้วยการยันเสมอ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่ กูดิสัน พาร์ก ในนัดที่ 4 ซึ่งเอฟเวอร์ตันสามารถไล่ตามตีเสมอ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แบบหวุดหวิดด้วยสกอร์ 3-3 ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจากประตูของ ทิม เคฮิล และมิเกล อาร์เตตา และหลังจากนั้น มอยส์ ก็นำลูกทีมคว้าชัยนัดแรกของฤดูกาลโดยในการไปเยือน เบอร์มิงแฮม ซิตี้ และเอาชนะไป 2-0 หลังจากนั้นก็สามารถชนะคู่แข่งร่วมเมืองอย่าง ลิเวอร์พูล ในบ้านของตนได้ 2-0 ในฤดูกาลนี้ มอยส์ สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับแฟนเอฟเวอร์ตันได้หลายครั้ง โดยการเอาชนะทีมใหญ่ อาทิเช่น บุกไปเฉือน แมนเชสเตอร์ซิตี 2-1 ถึง เอติฮัต สเตเดี้ยม (และในบ้านของเอฟเวอร์ตันก็เอาชนะไปได้ 2-1), ชนะ ท็อตแน่ม ฮ็อตสเปอร์ ได้ในบ้านของตน 2-1, ชนะนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด ได้ 2-1 ที่เซนต์ เจมส์ พาร์ก และปิดท้ายในฤดูกาลได้อย่างสุดสวยด้วยเอาการชนะ เชลซี 2-1 ในบ้านของตน โดยมอยส์นำทีมจบอันดับที่ 7 ของ พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 2010-11
ผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งกับสโมสร
ในช่วงฤดูกาล 2011-12 เดวิด มอยส์ ได้ซื้อนักเตะใหม่ที่มีชื่อเสียงในระดับกลางเช่น นิกิซา เยลาวิช , ดาร์รอน กิ๊บสัน จากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นต้น ซึ่งนัดแรกของฤดูกาลกลับออกสตาร์ทได้อย่างผิดพลาดโดยแพ้ในบ้านให้กับทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอย่าง ควีนส์พาร์ก เรนเจอร์ส ไป 1-0 แต่นัดถัดมาสามารถแก้ตัวด้วยการบุกไปเอาชนะ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส ได้ 1-0 16 ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 เดวิด มอยส์ ซึ่งหมดสัญญากับเอฟเวอร์ตัน ได้ย้ายไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แทนที่ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ที่ลงจากตำแหน่งหลังจากคุมทีมมาอย่างยาวนาน โดย มอยส์ เซ็นต์สัญญาเป็นนายใหญ่ให้กับทีมจากถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เป็นระยะเวลาถึง 6 ปีด้วยกัน โดยเอฟเวอร์ตันได้ประกาศแต่งตั้ง โรแบร์โต้ มาร์ติเนซ ผู้จัดการทีมชาวสเปน วัย 39 ปี จาก วีแกน แอธเลติก ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ด้วยสัญญา 4 ปี
ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 สโมสรได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า ฟาฮัด โมชีรี นักธุรกิจชาวอังกฤษเชื้อสายอิหร่านได้เข้าซื้อกิจการสโมสรเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยโมชีรีถือหุ้นจำนวน 49.9 % ทำให้เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในทันทีซึ่งโมชีรีได้ประกาศว่าจะพาเอฟเวอร์ตันกลับมายิ่งใหญ่ภายใน 3 ปี แต่ต่อมาก่อนที่จะสิ้นฤดูกาลเพียงนัดเดียว สโมสรได้ทำการปลดมาร์ติเนซออกจากตำแหน่ง เนื่องจากผลงานในระยะหลัง ๆ ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง โดย 10 นัด ชนะเพียงแค่นัดเดียวเท่านั้น
ตราสโมสรเอฟเวอร์ตัน
ตราสโมสรของ เอฟเวอร์ตัน มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งด้วยกัน ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ในปี 1920 เป็นรูปโล่สีน้ำเงิน และมีอักษร EFC ซึ่งถูกเลิกใช้และออกแบบโลโก้ใหม่อีกครั้งในปี 1938 เป็นโลโก้สีขาวที่มีโล่และหอคอยอยู่ในโลโก้ ซึ่งหอคอยนั้นว่ากันว่าเป็น วังของเจ้าชาย รูเพิร์ท หัลงจากนั้นในช่วงปี 1972-1978 โลโก้ของทีมก็เหลือเพียงแค่การออกแบบง่าย ๆ ที่มีเพียงอักษร EFC อยู่บนอดเสื้อเท่านั้น ปี 1978-1982 ได้มีการเอาหอคอยและรูปโล่ห์เข้ามาใช้ในโลโก้ของสโมสรอีกครั้งหนึ่ง และออกแบบให้เหลือเพียงวงกลม เอาโล่ห์และคำขวัญภาษาละติน (Nil Satis Nisi Optimum) ที่อยู่บนโลโก้ออกไปให้เลือกแต่สัญลักษณ์เดิมอย่างหอคอยเอาไว้ และหลังจากนั้นโกโก้ของสโมสรได้เลี่ยนแปลงอีกเรื่อย ๆจนถึงช่วงปี 2014 ที่ได้ออกแบบใหม่และได้รับความชื่นชอบจากแฟนบอลอย่างมาก จึงได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นรูปโล่ห์สีน้ำเงิน มีหอคอยตรงกลาง และมีตัวเลขปีที่ก่อตั้งสโมสร 1878 อยู่ในนั้นด้วย ว่ากันว่า ในเวลาที่มีการแข่งขันในสนามของตัวเอง จะมีการให้ผู้หญิงสวมชุดสีน้ำเงินไปแจกท็อฟฟี่ในสนาม คนไทยจึงตั้งฉายาว่า ทีมท็อฟฟี่สีน้ำเงิน
ชุดแข่งขันของ เอฟเวอร์ตัน
ในยุคแรกของ เอฟเวอร์ตันนั้นใช้ชุดแข่งขันเป็นเสื้อสีชมพูอ่อน กางเกงสีฟ้า และถุงเท้าสีฟ้า แต่เนื่องด้วยแฟน ๆของสโมสรเรียกร้องให้เปลี่ยนไปใช้สีน้ำเงิน กางเกงและถุงเท้าสีขา จึงได้เปลี่ยนและใช้มาจนถึงปัจจุบัน ชุดแข่งขันที่เป็นสัญลักษณ์ของ เอฟเวอร์ตัน เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงและถุงเท้าสีขาว
ทำเนียบผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตัน
อันดับ | ชื่อ | ฤดูกาล | จำนวนเกม | เปอร์เซ็นต์คุมทีมชนะ |
1 | Theo Kelly | 1939 – 1948 | 102 | 47 |
2 | Cliff Briton | 1948 – 1956 | 339 | 50 |
3 | Ian Buchan | 1956 – 1958 | 99 | 43 |
4 | Johnny Carey | 1958 – 1961 | 122 | 51 |
5 | Harry Catterick | 1961 – 1973 | 594 | 60 |
6 | Billy Bingham | 1973 – 1977 | 172 | 53 |
7 | Steve Burtenshaw | 1977 – 1977 | 1 | 50 |
8 | Gordon Lee | 1977 – 1981 | 234 | 55 |
9 | Howard Kendall | 1981 – 1987 | 338 | 66 |
10 | Colin Harvey | 1987 – 1990 | 174 | 57 |
11 | Howard Kendall | 1990 – 1993 | 122 | 51 |
12 | Mike Walker | 1994 – 1994 | 34 | 32 |
13 | Joe Royle | 1994 – 1997 | 119 | 55 |
14 | Howard Kendall | 1997 – 1998 | 42 | 42 |
15 | Walter Smith | 1998 – 2002 | 168 | 46 |
16 | David Moyes | 2002 – 2013 | 516 | 42 |
17 | Roberto Martínez | 2013 – 2016 | 140 | 43 |
18 | Ronald Koeman | 2016 – 2017 | 58 | 41 |
19 | Sam Allardyce | 2017 – 2018 | 26 | 39 |
20 | Marco Silva | 2018 | 42 | 41 |
ผู้เล่นสโมสร เอฟเวอร์ตัน
เลข | ตำแหน่ง | สัญชาติ | ผู้เล่น |
1 | GK | อังกฤษ | จอร์แดน พิกฟอร์ด |
2 | DF | อังกฤษ | เมสัน ฮอลเกต |
5 | DF | อังกฤษ | ไมเคิล คีน |
6 | MF | บราซิล | อาลัง |
7 | FW | บราซิล | รีชาร์ลีซง |
8 | MF | อังกฤษ | เฟเบียน เดลฟ์ |
9 | FW | อังกฤษ | ดอมินิก แคลเวิร์ต-ลูอิน |
10 | MF | ไอซ์แลนด์ | จิลวี ซีกืร์ดซอน (รองกัปตัน) |
11 | FW | อังกฤษ | ทีโอ วอลคอตต์ |
12 | DF | ฝรั่งเศส | ลูว์กา ดีญ |
13 | DF | โคลอมเบีย | เยร์ริ มินา |
14 | FW | ตุรกี | แจงค์ โทซุน |
16 | MF | ฝรั่งเศส | อาบดูลาย ดูกูเร |
17 | FW | ไนจีเรีย | อเล็กซ์ อิโวบี |
19 | MF | โคลอมเบีย | ฮาเมส โรดริเกซ |
20 | FW | บราซิล | แบร์นาร์ |
21 | MF | โปรตุเกส | อังแดร โกมึช |
23 | DF | สาธารณรัฐไอร์แลนด์ | เชมัส โคลแมน (กัปตัน) |
25 | MF | โกตดิวัวร์ | ฌ็อง-ฟีลิป บาแม็ง |
26 | MF | อังกฤษ | ทอม เดวีส์ |
27 | FW | อิตาลี | โมอีเซ เกน |
31 | GK | โปรตุเกส | João Virgínia |
32 | DF | อังกฤษ | Jarrad Branthwaite |
34 | MF | Democratic Republic of the Congo | Beni Baningime |
42 | FW | อังกฤษ | แอนโทนี กอร์ดอน |
43 | DF | อังกฤษ | จอนโจ เคนนี |
49 | GK | เดนมาร์ก | โยนัส เลอเซิล |
— | DF | ฝรั่งเศส | Niels Nkounkou |
— | MF | บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | Muhamed Bešić |
— | FW | สเปน | ซันโดร รามิเรซ |
— | MF | Democratic Republic of the Congo | ยันนิก บอลาซี |
เกียรติประวัติ
ระดับประเทศ
- ดิวิชันหนึ่ง
ชนะเลิศ (9): 1890–91, 1914–15, 1927–28, 1931–32, 1938–39, 1962–63, 1969–70, 1984–85, 1986–87
- ดิวิชันสอง
ชนะเลิศ (1): 1930–31
- เอฟเอคัพ
ชนะเลิศ (5): 1906, 1933, 1966, 1984, 1995
- อีเอฟแอลคัพ
รองชนะเลิศ (2): 1977, 1984
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
ชนะเลิศ (9): 1928, 1932, 1963, 1970, 1984, 1985, 1986 (แชมป์ร่วม), 1987, 1995
- ฟูลเม็มเบอร์คัพ
รองชนะเลิศ (2): 1989, 1991
- ซูเปอร์คัพ (อังกฤษ)
รองชนะเลิศ (1): 1985–86
ระดับทวีปยุโรป
- ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
ชนะเลิศ (1): 1984–85
- รายการอื่น ๆ
World Soccer Magazine World Team of the Year
ชนะเลิศ (1) : 1985