สโมสรฟุตบอล เอซี มิลาน เจ้าของฉายา ปีศาจแดง-ดำ เริ่มต้นก่อตั้งสโมสร 16 ธันวาคม ค.ศ.1899 สนามเหย้าของสโมสรคือ ซานซีโร (สนามเดียวกันกับ อินเตอร์มิลาน) ความจุผู้เข้าชมได้ 82,955 ที่นั่ง ประธานสโมสรคือ เปาโล สกาโรนี เล่นในเซเรียอา ระดับการแข่งขันฟุตบอลอาชีพสูงสุดในประเทศอิตาลี
ประวัติความเป็นมาของเอซี มิลาน
สโมสร เอซี มิลาน เริ่มต้นการก่อตั้งสโมสรครั้งแรกโดยเป็นสโมสรคริกเกตและฟุตบอล ในตอนนั้นได้เลือกใช้ชื่อ Milan Football and Cricket Club ซึ่งในช่วงยุคนั้นการเล่นคริกเกตเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ก็ไม่นานเพราะกระแสความนิยมของการเล่นฟุตบอลเป็นที่นิยมมากขึ้น จึงหันมาทุ่มเทกับการแข่งขันฟุตบอลแทน
เอซี มิลาน มีประธานสโมสรคนแรกคือ อัลเฟรด เอ็ดเวิร์ดส์ และขึ้นทะเบียนเป็นสหภาพฟุตบอลอิตาเลียน จากนั้นก็เริ่มต้นส่งสโมสรเข้าทำการแข่งขันในทันที อย่างไรก็ตามสโมสรมีเรื่องอื้อฉาวในปี 2006-07 จากการล็อกตัวผู้เล่น จึงทำให้ถูกตัดคะแนนไป 8 แต้มแต่ก็ยังได้ทำอันดับมาได้ถึงที่ 4 ในครั้งนั้น
ตราสโมสรและสีชุดการแข่งขัน
เอซี มิลาน ใช้สีเสื้อสีแดง-ดำ เป็นสีประจำทีม มีฉายาในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “รอสโซ่เนรี่” หรือ “อิล ดิอาโวโล่” ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า “ปีศาจแดง-ดำ” และเรียกเหล่ากองเชียร์ของสโมสรว่า “มิลานิสต้า”
สนามการแข่งขันของเอซีมิลาน
เอซี มิลาน ใช้สนาม “ซาน ซิโร่” หรือ “สตาดิโอ้ จูเซ็ปเป้ เมอัซซ่า” ซึ่งเป็นสนามประจำเมืองมิลาน มีความจุโดยประมาณ 80,074 คน (ปัจจุบัน) เป็นสนามประจำทีม โดยสนามซาน ซิโร่ สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1926 ซึ่งผู้ที่ริเริ่มความคิดคือ ปิเอโร่ ปิเรลลี่ ประธานสโมสรของมิลานในขณะนั้น โดยเขาคิดที่จะมอบมันเป็นของขวัญให้กับสโมสร สนามซาน ซิโร่ ใช้เวลาในการสร้างทั้งหมด 1 ปี โดยสามารถจุผู้ชมได้ 10,000 ที่นั่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการปรับปรุงสนามซาน ซิโร่ เพื่อให้สามารถรองรับแฟนบอลที่มาเข้าชมการแข่งขันได้มากขึ้น โดยครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนที่นั่งขึ้นไปเป็น 55,000 ที่นั่ง และในปี ค.ศ.1986 ก็ได้มีการปรับปรุงสนามซาน ซิโร่อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นสนามในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1990 โดยครั้งนี้ได้สร้างหลังคาและสร้างหอคอยทางขึ้นอีก 11 ด้าน และได้เพิ่มที่นั่งจาก 5 หมื่นที่นั่งเป็น 85,700 ที่นั่ง หากถ้านับกันจริง ๆ แล้วสนามซาน ซีโร่สามารถรองรับผู้ชมได้มากถึง 150,000 คนเลยทีเดียว แต่สภาเมื่อมิลานมีกฎออกมาว่าห้ามมีคนดูเกิน 100,000 คนนั่นเอง
การสนับสนุนของเอซีมิลาน
ผู้สนับสนุนหน้าอกเสื้อ
เอซี มิลาน เริ่มมีสปอนเซอร์ติดหน้าอกเสื้ออย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ซึ่งรายชื่อสปอนเซอร์หน้าอกเสื้อของมิลาน มีดังต่อไปนี้
ปี | ผู้สนับสนุนหน้าอกเสื้อ |
1981-1982 | Pooh Jeans |
1982-1983 | Hitachi |
1983-1984 | Olio Cuore |
1984 | Rete 4 |
1984-1985 | Oscar Mondadori |
1985-1987 | Fotorex U-Bix |
1987-1992 | Mediolanum |
1992-1994 | Motta |
1994-2006 | Opel |
2006-2010 | Bwin |
2010-2020 | Fly Emirates |
ผู้สนับสนุนชุดแข่งขัน
เอซี มิลาน เริ่มมีผู้สนับสนุนชุดแข่งขันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 โดยรายชื่อดังต่อไปนี้
ปี | สปอนเซอร์ชุดแข่งขัน |
1978-1979 | Adidas |
1979-1980 | Adidas – Linea Milan |
1980-1982 | Linea Milan |
1982-1984 | NR |
1984-1985 | Rolly Go |
1985-1986 | Gianni Rivera |
1986-1990 | Kappa |
1990-1993 | Adidas |
1993-1998 | Lotto |
1998-2023 | Adidas |
ประวัติการแข่งขันของเอซีมิลาน
สโมสรโลก (อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ, โตโยต้าคัพ, ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ) (มากที่สุด)
- แชมป์ 4 สมัย : 1969, 1989, 1990, 2007
- รองแชมป์ 4 ครั้ง : 1963, 1993, 1994, 2003
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (ยูโรเปียนคัพ)
- แชมป์ 7 สมัย : 1962-63, 1968-69, 1988-89, 1989-90, 1993-94, 2002-03, 2006-07
- รองแชมป์ 4 ครั้ง : 1957-58, 1992-93, 1994-95, 2004-05
ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ (ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ)
- แชมป์ 2 สมัย : 1967-68, 1972-73
- รองแชมป์ 1 ครั้ง : 1973-74
ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา (มากที่สุด)
- แชมป์ 7 สมัย : 1988, 1992, 1993, 1994, 2004, 2011, 2016
- รองแชมป์ 3 ครั้ง : 1996, 1999, 2003
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ) (มากที่สุด)
- แชมป์ 5 สมัย : 1989, 1990, 1994, 2003, 2007
- รองแชมป์ 2 ครั้ง : 1973, 1993
กัลโช เซเรีย อา (สกูเดตโต)
- แชมป์ 18 สมัย : 1901, 1906, 1907, 1950-51, 1954-55, 1956-57, 1958-59, 1961-62, 1967-68, 1978-79, 1987-88, 1991-92, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1998-99, 2003-04, 2010-11
- รองแชมป์ 17 ครั้ง : 1902, 1910–11, 1911–12, 1947–48, 1949–50, 1951–52, 1955–56, 1960–61, 1964–65, 1968–69, 1970–71, 1971–72, 1972–73, 1989–90, 1990–91, 2004–05, 2011-12
โกปปาอีตาเลีย
- แชมป์ 5 สมัย : 1966-67, 1971-72, 1972-73, 1976-77, 2002-03
- รองแชมป์ 7 ครั้ง : 1941-42, 1967-68, 1970-71, 1974-75, 1984-85, 1989-90, 1997-98
นักเตะยอดเยี่ยมของเอซีมิลาน
นักเตะทีมเอซี มิลาน เคยได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรปหรือบาลงดอร์มากที่สุด 8 ครั้ง ได้แก่
- จันนี รีเวรา ในปี 1969
- รืด คึลลิต ในปี 1987
- มาร์โก ฟัน บัสเติน ได้ 3 ครั้ง ในปี 1988, 1989 และ 1992
- จอร์จ เวอาห์ ในปี 1995
- อันดรีย์ เชฟเชนโค ในปี 2004
- กาก้า ในปี 2007
รายชื่อผู้เล่นของทีมเอซีมิลาน
รายชื่อนักเตะทีมเอซี มิลาน ฤดูกาล 2020-21
เบอร์เสื้อ | นักเตะ | ตำแหน่ง | สัญชาติ | อายุ |
1 | ชีเปรียน ทาทารูซานู | ผู้รักษาประตู | โรมาเนีย | 34 |
99 | จานลุยจิ ดอนนารุมม่า | ผู้รักษาประตู | อิตาลี | 21 |
90 | อันโตนิโอ ดอนนารุมม่า | ผู้รักษาประตู | อิตาลี | 30 |
19 | ธีโอ เอร์นานเดซ | เซ็นเตอร์แบ็ค | ฝรั่งเศส | 23 |
22 | มาเตโอ มูซัคคิโอ | เซ็นเตอร์แบ็ค | อาร์เจนตินา | 30 |
43 | ลีโอ ดูอาร์ต | เซ็นเตอร์แบ็ค | บราซิล | 24 |
13 | อเลสซิโอ โรมันโญลี่ | เซ็นเตอร์แบ็ค | อิตาลี | 25 |
46 | มัตเตโอ กับเบีย | เซ็นเตอร์แบ็ค | อิตาลี | 21 |
24 | ซิมอน เคียร์ | เซ็นเตอร์แบ็ค | เดนมาร์ก | 31 |
14 | อันเดรีย คอนติ | แบ็คขวา | อิตาลี | 26 |
20 | ปิแอร์ กาลูลู | แบ็คขวา | ฝรั่งเศส | 20 |
5 | ดิโอโก้ ดาโลต์ | แบ็คขวา | โปรตุเกส | 21 |
2 | ดาวิเด้ คาลาเบรีย | แบ็คขวา | อิตาลี | 24 |
4 | อิสมาเอล เบนนาเซอร์ | มิดฟิลด์ตัวรับ | แอลจีเรีย | 23 |
8 | ซานโดร โตนาลี่ | มิดฟิลด์ตัวรับ | อิตาลี | 20 |
79 | ฟร้องค์ เคสซี่ | มิดฟิลด์ตัวกลาง | โกตดิวัวร์ | 24 |
33 | ราเด้ ครูนิช | มิดฟิลด์ตัวกลาง | บอสเนียฯ | 27 |
15 | เจนส์ เพตเตอร์ ฮาวก์ | ปีกซ้าย | นอร์เวย์ | 21 |
12 | อันเต้ เรบิช | ปีกซ้าย | โครเอเชีย | 27 |
21 | บราฮิม ดิอาซ | มิดฟิลด์ตัวรุก | สเปน | 21 |
10 | ฮาคาน คัลฮาโนกลู | มิดฟิลด์ตัวรุก | ตุรกี | 26 |
27 | ดาเนียล มัลดินี่ | มิดฟิลด์ตัวรุก | อิตาลี | 19 |
56 | อเล็กซิส ซาเลอมาแกร์ส | ปีกขวา | เบลเยียม | 21 |
7 | ซามูเอล กาสตีเยโฆ่ | ปีกขวา | สเปน | 25 |
29 | ลอเรนโซ่ โคลอมโบ | กองหน้าตัวเป้า | อิตาลี | 18 |
17 | ราฟาเอล เลเอา | กองหน้าตัวเป้า | โปรตุเกส | 21 |
11 | ซลาตัน อิบราฮิโมวิช | กองหน้าตัวเป้า | สวีเดน | 39 |
สถิติที่น่าสนใจของทีมเอซีมิลาน
นักเตะที่ลงเล่นมากที่สุดตลอดกาล
อันดับ | ชื่อนักเตะ | จำนวนนัด |
1. | เปาโล มัลดีนี | 902 |
2. | ฟรังโก บาเรซี | 719 |
3. | อเลสซานโดร คอสตาคูร์ตา | 663 |
4. | จานนี ริเวรา | 658 |
5. | เมาโร ตัสซอตติ | 583 |
6. | มัสซิโม อัมโบรซินี | 469 |
7. | เกนนาโร กัตตูโซ | 468 |
8. | คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ | 432 |
9. | อันเจโล อันกวิลเลตติ | 418 |
10. | เชซาเร มัลดินี | 412 |
11. | เดเมตริโอ อัลแบร์ตินี | 406 |
12. | อันเดรีย ปีร์โล | 401 |
13. | นิลส์ ลีดโฮล์ม | 394 |
14. | อัลเบริโก เอวานี | 393 |
15. | โรแบร์โต โดนาโดนี | 390 |
16. | โจวานนี ตราปัตโตนี | 351 |
17. | โอเมโร โตญญอน | 342 |
18. | ลุยจิ แปร์แวร์ซี | 341 |
19. | คาร์ล-ไฮนซ์ ชเนลลิงเกอร์ | 334 |
20. | เซบาสเตียโน รอสซี | 330 |
นักเตะที่ยิงประตูมากที่สุดตลอดกาล
อันดับ | ชื่อนักเตะ | จำนวนประตู |
1. | กุนนาร์ นอร์ดาห์ล | 221 |
2. | อังเดร เชฟเชนโก | 175 |
3. | จานนี ริเวรา | 164 |
4. | โฮเซ อัลตาฟินี | 161 |
5. | อัลโด โบฟฟี | 136 |
6. | ฟิลิปโป อินซากี | 126 |
7. | มาร์โก ฟาน บาสเทน | 124 |
8. | จูเซ็ปเป ซานตากอสติโน | 106 |
9. | ปิเอริโน ปราติ | 102 |
10. | กาก้า | 100 |
11. | หลุยส์ ฟาน แฮช | 98 |
12. | อัลแบร์ติโน บิกอน | 90 |
13. | นิลส์ ลีดโฮล์ม | 89 |
14. | เรนโซ บูรินี | 88 |
15. | ปิเอโตร วีร์ดิส | 76 |
16. | มาร์โก ซิโมเน | 75 |
17. | อัลโด เคเวนินี | 73 |
18. | ปิเอโตร อาร์คารี | 70 |
19. | ดานิเอเล มัสซาโร | 70 |
20. | โจวานนี โมเรตติ | 68 |
ผู้จัดการทีมในแต่ละปีของทีมเอซีมิลาน
ปี | ชื่อผู้จัดการทีม |
1900-1906 | เฮอร์เบิร์ท คิลพิน |
1906-1907 | ดานิเอเล่ อันเจโลนี่ |
1907-1911 | จานนิโน่ คัมเปริโอ้ |
1911-1912 | คณะบอร์ดบริหาร |
1912-1913 | ปิเอโร่ เปเวเรลลี่ |
1913-1915 | คณะบอร์ดบริหาร |
1915-1916 | กุยโด้ โมด้า |
1916-1918 | ไม่มีผู้จัดการทีม |
1918-1919 | คณะบอร์ดบริหาร |
1919-1921 | กุยโด้ โมด้า |
1921-1922 | ไม่มีผู้จัดการทีม |
1922-1924 | เฟอร์ดี้ ออปเปนไฮม์ |
1924-1926 | วิตตอริโอ้ ปอซโซ่ |
1926 | กุยโด้ โมด้า |
1926-1928 | เฮอร์เบิร์ต เบอร์เกสส์ |
1928-1931 | เองเกิลเบิร์ต โคนิก |
1931-1933 | ยอสเซฟ บานาส |
1933-1934 | ยอสเซฟ วิโอล่า |
1934-1936 | อดอลโฟ่ บาลอนชิเอรี่ |
1936-1937 | วิลเลี่ยม การ์บัตต์ |
1937-1938 | เฮอร์มันน์ เฟลส์เนอร์ |
1938 | ยอสเซฟ บานาส |
1938-1940 | ยอสเซฟ วิโอล่า |
1940-1941 | กุยโด้ อาร่า |
1941-1943 | มาริโอ้ มัญญอซซี่ |
1943-1945 | จูเซ็ปเป้ ซานตากอสติโน่ |
1945-1946 | อดอลโฟ่ บาลอนชิเอรี่ |
1946-1949 | จูเซ็ปเป้ บิโกญโญ่ |
1949-1952 | ลายอส ซีซเล่อร์ |
1952 | กุนน่าร์ เกร็น |
1952-1953 | มาริโอ้ สเปโรเน่ |
1953-1954 | เบล่า กุตต์มัน |
1954 | อันโตนิโอ บูซินี่ |
1954-1956 | เอคตอร์ ปูริเชลลี่ |
1956-1960 | จูเซ็ปเป้ วิอานี่ |
1960-1961 | เปาโล โตเดสคินี่ |
1961-1963 | เนเรโอ้ ร็อคโค่ |
1963-1964 | หลุยส์ คาร์นิญ่า |
1964-1966 | นิลส์ ลีดโฮล์ม |
1966 | โจวานนี่ คัตตอซโซ่ |
1966-1967 | อาร์ตูโร่ ซิลเวสตรี้ |
1967-1972 | เนเรโอ้ ร็อคโค่ |
1972-1974 | เชซาเร่ มัลดินี่ |
1974 | โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ |
1974-1975 | กุสตาโว่ จาญโญนี่ |
1975 | เนเรโอ้ รอคโค่ |
1975-1976 | เปาโล บาริซอน |
1976 | โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ |
1976-1977 | จูเซ็ปเป้ มาร์คิโอโร่ |
1977 | เนเรโอ้ ร็อคโค่ |
1977-1979 | นิลส์ ลีดโฮล์ม |
1979-1981 | มัสซิโม่ จาโคมินี่ |
1981 | อิตาโล่ กัลบิอาติ |
1981-1982 | ลุยจิ ราดิเซ่ |
1982 | อิตาโล่ กัลบิอาติ |
1982-1984 | อิลาริโอ้ คัสตาญเญ่อร์ |
1984 | อิตาโล่ กัลบิอาติ |
1984-1987 | นิลส์ ลีดโฮล์ม |
1987 | ฟาบิโอ้ คาเปลโล่ |
1987-1991 | อาร์ริโก้ ซาคคี่ |
1991-1996 | ฟาบิโอ้ คาเปลโล่ |
1996 | ออสก้าร์ ตาบาเรซ |
1996-1997 | จอร์โจ้ โมรินี่ |
1997 | อาร์ริโก้ ซาคคี่ |
1997-1998 | ฟาบิโอ้ คาเปลโล่ |
1998-2001 | อัลแบร์โต้ ซัคเคโรนี่ |
2001 | ฟาติห์ เตริม |
2001 | เชซาเร่ มัลดินี่ |
2001-2009 | คาร์โล อันเชลอตติ |
2009-2010 | เลโอนาร์โด้ |
2010-2014 | มัสซิมิลิอาโน่ อัลเล่กรี้ |
2014 | คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ |
2014 | ฟิลิปโป อินซา |
เกียรติยศและรางวัลของทีมเอซีมิลาน
- ยุคล้มเหลวของ เอซี มิลาน อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 40 ทำผลงานได้ห่วยแตกมาก มีผลงานที่ดีเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น รางวัลที่ได้แชมป์คือ กัลโซ่ เซเรียอา 3 สมัย ในปี 1901,1906,1907 ต่อมาได้รองแชมป์ในปี 1902 และ 1948 รางวัลสุดท้ายคือ รองแชมป์โคปป้า อิตาเลีย 1 ในปี 1942 หลังจากนั้นก็แพ้ไม่เป็นท่า และไม่สามารถคว้าแชมป์ได้อีกเลย เรียกได้ว่าเป็นยุคที่ล้มเหลวมากที่สุด
- ทศวรรษที่ 50 ทีมได้แชมป์ กัลโซ่ เซเรียอา เมื่อปี 1951,1955,1957,1959 4 สมัย รองแชมป์ในระดับทวีปปี 1950,1952,1956 3 ครั้ง หลังจากนั้นได้เข้าชิงรายการ ยูโรเปี้ยน คัพ เมื่อปี 1958
- ยุคทองที่น่าจดจำอยู่ในช่วงทศวรรษที่ 60 คว้าแชมป์ กัลโซ่ เซเรียอา 2 สมัย เมื่อปี 1962 และ 1968 ต่อมาได้รองแชมป์ 3 ครั้งในปี 1961,1965,1969 หลังจากนั้นก็ได้รางวัลมาเรื่อย ๆ เช่น แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ 2 สมัย, แชมป์โคปป้า อิตาเลีย 1 สมัย, แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์ส คัพ 1 สมัย,แชมป์สโมสรโลก 1 ครั้ง ถือว่าเป็นยุคที่ยอดเยี่ยมและน่าจดจำมาก
- ทศวรรษที่ 70 เป็นยุคที่พลาดท่าเสียให้คู่ปรับอย่าง ยูเวนตุส อย่างหนัก แต่ยังพอมีแชมป์ได้บ้าง คือ กัลโซ่ เซเรียอา 1 สมัย,รองแชมป์ลีก 3 สมัยซ้อน เมื่อปี 1971,1972,1973 ได้แชมป์โคปป้า อิตาเลีย 3 ครั้ง,ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์ส คัพ 1 สมัย,แชมป์ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ
- ทศวรรษที่ 80 ยุคที่ตกอับของ เอซี มิลาน ซึ่งในปี 1980 ปีศาจแดงดำ ถูกปรับตกชั้นสู่ กัลโซ่ เซเรีย บี จากข้อหาล้มบอลของ เฟลิเซ่ โคลอมโบ้ ประธานสโมสรและ เอ็นริโก้ อัลแบร์โตซี่ ผู้รักษาประตู ถึงแม้หลังจากนั้นจะสามารถคว้าแชมป์ลีกได้ ก็ต้องตกชั้นอีกครั้งเพราะฟอร์มห่วยแตก และกลับมาสู่ กัลโซ่ เซเรียอา ได้อีกครั้งเมื่อปี 1983 ต่อมาอีกไม่นาน จูเซ็ปเป้ ฟาริน่า ประธานสโมสรคนใหม่ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย และยักยอกเงินของสโมสรไปหมด ทำให้เขาต้องหนีไปและจบหน้าที่ประธานในทันที หลังจากนั้นสโมสรเข้าสู่สภาวะล้มละลายก็ได้ ซิลวิโอ้ แบร์ลุสโคนี่ เข้ามาบริหารแทน และได้กลับสู่ยุคทองอีกครั้ง โดยคว้าแชมป์ กัลโซ่ เซเรียอา ในปี 1988 1 สมัย,รองแชมป์โคปป้า อิตาเลีย 1 ครั้ง,แชมป์อิตาเลี่ยน ซูเปอร์คัพ 1 สมัย,แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ ในปี 1989 1 ครั้ง,แชมป์ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ 1 ครั้ง และได้แชมป์สโมสรโลก ในปี 1989
- นับว่าสโมสรนี้มีเรื่องราวที่น่าจดจำมากมาย ทั้งดีและร้ายแต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้จนถึงตอนนี้ และยังเป็นทีมที่มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของลีก ยังมีนักเตะอีกหลายคนที่ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายและกลับมายิ่งใหญ่ได้ในปัจจุบัน ขึ้นชื่อว่าเป็นทีมที่มีดาวรุ่งฟอร์มแรงมากมาย ณ ตอนนี้ ผู้จัดการทีมคือ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ผู้นำทัพมิลานสู่ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ มารอติดตามว่าหลังจากนี้เขาจะพากองทัพ ปีศาจแดงดำ ไปได้ไกลสักแค่ไหน