เกมติดตาม รายงานผลฟุตบอล แบบเรียลไทม์

แทงบอลออนไลน์

แทงบอลออนไลน์


0 Shared

0 Pined

0 Shared

0 Shared

ประวัติทีม เบรนท์ฟอร์ด ผลงานของทีม และข่าวสารนักเตะ ในสโมสร

เบรนท์ฟอร์ด Brentford

สโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ที่มีฉายาว่า “ผึ้ง” ตั้งอยู่ที่เมืองเบรนต์ฟอร์ดในเกรเทอร์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันในแชมเปียนชิป ลีกฟุตบอลระดับที่สองของประเทศ สโมสรถูกก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1889 สนามเหย้าคือกริฟฟินปาร์ก ใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 เบรนต์ฟอร์ดเคยเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศของเอฟเอคัพถึงสี่ครั้งและเป็นรองแชมป์ฟุตบอลลีกโทรฟีถึงสามสมัย

สโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด มีเจ้าของทีมชื่อ แมทธิว เบนัม และมีประธานสโมสรชื่อ คลิฟ คราวน์ และมีหัวหน้าผู้ฝึกสอนชื่อ โทมัส แฟรงก์ แข่งในลีก แชมป์เปียนชิป

ประวัติความเป็นมา

เบรนท์ฟอร์ด เป็นสโมสรฟุตบอลที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 1889 และตั้งอยู่ใน เบรนต์ฟอร์ด ในเกรเทอร์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำการแข่งขันในศึกแชมเปียนชิป เป็นลีกฟุตบอลระดับที่สองของประเทศ เบรนท์ฟอร์ดได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดในปี 1930 ในดิวิชั่นแรกอย่างต่อเนื่องถึง 6 ปี ติดต่อกัน และเบรนท์ฟอร์ดได้คว้าแชมป็เอฟเอคัพได้ถึง 4 ครั้ง และสามารถคว้าแชมป์ลีกคัพได้อีก 3 ครั้ง

ตราสัญลักษณ์ประจำทีมเบรนท์ฟอร์ด

ตราสัญลักษณ์ประจำทีมเบรนท์ฟอร์ด

สนามเหย้าของเบรนท์ฟอร์ด

ในปี 1904 ทางสโมสรเบรนท์ฟอร์ดได้ลงสนาม กริฟฟินปาร์ก เป็นสนามที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเวลานั้น และได้ย้ายที่ตั้งสนามมาอยู่ที่ Matthew Benham ซึ่งมีชื่อเดียวกับเจ้าของสโมสร โดยมีความจุของสนามอยู่ที่ 20,000 ที่นั่ง และมีแผนที่จะย้ายไปอยู่ที่สนามกีฬาแห่งใหม่โดยที่แมทธิว เบนัมได้ซื้อพื้นที่ 7.6 เอเคอร์ใน Lionel Road South Brentford ที่ถนน Braemar ซึ่งทีมเป็นที่รู้จักกับในชื่อ Bees United

เครื่องแต่งกายประจำทีมเบรนท์ฟอร์ด

เครื่องแต่งกายประจำทีมเบรนท์ฟอร์ด

คิดนอกกรอบแบบเบรนท์ฟอร์ดเพื่อทางรอดของทีมเล็ก

เบรนท์ฟอร์ดได้เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนจึงได้คิดที่จะสร้างนักเตะรุ่นใหม่ขึ้นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่จะทำให้ทีมเล็ก ๆ อย่างเบรนท์ฟอร์ดมีทางเลือกที่จะทำให้เยาวชนเข้ามาอยู่ในอคาเดมี่เพื่อไปสู่หนทางความเป็นนักกีฬามืออาชีพในอนาคต ซึ่งทางเบรนท์ฟอร์ดได้วางและเตรียมทีมไว้ดังนี้

  • จากโครงสร้างสู่ความเป็นแบบแผน

ในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเกาะแห่งลูกหนัง สิ่งที่คุณจะได้เห็นคือแทบทุกสโมสรจะมีการสร้างระบบอคาเดมี่ไว้เป้นอย่างดี โดยเริ่มตั้งแต่ทีมชุด U-8 ซึ่งเป็นรุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี และจะไล่ตามอายุไปจนถึง 15 ปี โดยที่เด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้จะเป็นวัยที่ได้เรียนรู้ทักษะลูกหนังเป็นหลัก ซึ่งยังไม่เน้นในเรื่องผลการแข่งขันมากนัก

ซึ่งระบบอคาเดมี่ฟุตบอลจะเพิ่มมากขึ้นไปสู่การเลื่อนชั้นสู่ระดับไฮสคูลหรือมัธยมปลาย โดยที่ทีมชุด U-16 และ U-18 ของสโมสรในอังกฤษจะมีการแข่งขันในระบบลีกและฟุตบอลถ้วยเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในส่วนของการแข่งขัน การเล่นเพื่อชัยชนะ และจะต้องทำทีมชุด U-19 เพื่อส่งแข่งขันรายการ ยูฟ่า ยูธลีก หรือ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก รุ่นเยาวชนอีกด้วย

และเมื่อมาถึงตรงนี้ ทางสโมสรจะเล็งเห็นถึงฝีเท้าของนักเตะที่มีความโดดเด่นและจะทำให้ได้รับโอกาสที่จะลงเล่นในทีมชุดใหญ่

  • เมื่อทีมเล็กสู้พลังดูดไม่ไหว

สโมสรที่มีทุนทรัพย์สูงมักจะใช้พลังดูดสูบนักเตะดาวรุ่งฝีเท้าดี ๆ มาเข้าสู่ทีมของตน ซึ่งทีมเล็ก ๆ อย่างเบรนท์ฟอร์ดมักจะตกเป็นเบี้ยล่างของทีมใหญ่ ๆ อยู่เสมอ เมื่อดาวรุ่งฝีเท้าดีของพวกเขากลายเป็นสินค้าส่งออกไปสู่ทีมที่ใหญ่กว่าเป็นประจำ

ในการสูญเสียดาวรุ่งที่พวกเขาได้หวังเอาไว้ว่าจะเป็นการสร้างอนาคตใหม่ให้กับตัวเองนั้นทำให้เบรนท์ฟอร์ดตัดสินใจที่จะถอนตัวออกจาก Elite Player Performance Plan หรือโครงการพัฒนานักเตะเยาวชนของอังกฤษที่จัดโดย พรีเมียร์ลีก และปิดอคาเดมี่ทุกรุ่นหลังจบฤดูกาล 2015/16 ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเข้าร่วมโครงการนี้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น

ซึ่งได้มีการชี้แจงสาเหตุของการปิดตัวอคาเดมี่ว่า “เมื่อเราได้ทบทวนอย่างไตร่ตรองแล้วจึงพบว่า การที่สโมสรขนาดใหญ่ในพรีเมียร์ลีกพยายามอย่างยิ่งที่จะเซ็นสัญญาคว้าตัวนักเตะที่ดีที่สุดก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาผ่านระบบอคาเดมี่เช่นนี้ ทำให้เรายิ่งประสบกับความยากลำบากในการพัฒนาผ่านโครงสร้างที่มีแต่เดิม เราจึงตัดสินใจที่จะรื้อโครงสร้างของระบบอคาเดมี่เสียใหม่”

  • คิดนอกกรอบ

ทางสโมสรพยายามที่จะหาวิธีการที่แตกต่างจากคู่แข่งเพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับทีมของตนเอง ซึ่งความคิดของเขาในครั้งนั้นคือการที่มีทีมในระดับที่ต่ำกว่าเพื่อเป็นกำลังเสริมให้กับนักเตะชุดใหญ่ก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงได้เกิด “ทีมชุดบี” ขึ้นมาวัตถุประสงค์ก็เพื่อ “สร้างหนทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนานักเตะเพื่อทุกทีมในอังกฤษ”

รูปแบบของ “ทีมชุดบี” ซึ่งชุดทีมบีนี้ทางสมาคมฟุตบอลอังกฤษไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงทำให้สามารถดีไซน์ทุกสิ่งให้เข้ากับสถานการณ์ของโลกลูกหนังที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้งได้ ซึ่งเบรนท์ฟอร์ดได้ทำการรับเซ้งนักเตะในช่วงวัยรุ่นตอนปลายที่หลายคนมองว่าไม่เก่งมาเข้าทีม

ซึ่งทีมชุดบีนั้นไม่ได้มีแต่ของเหลือจากอคาเดมี่ทีมดัง ๆ ในอังกฤษเท่านั้น เพราะด้วยตัวประธานสโมสรเองยังเป็นเจ้าของ เอฟซี มิดทิลแลนด์ ทีมดังแห่งเดนมาร์กด้วยอีกทีม คอนเนคชั่นในการหานักเตะจากภาคพื้นทวีปยังมีอย่างล้นเหลือ จนสามารถนำเด็กดาวรุ่งจากทั่วยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากแถบสแกนดิเนเวีย รวมถึงประเทศที่หลายคนประเมินคุณภาพนักเตะไว้ต่ำ เข้ามาบ่มเพาะทักษะเพิ่มเติมบนเกาะอังกฤษได้อย่างไม่ขัดเขิน

ในการวางโปรแกรมการแข่งขันนั้น ด้วยความที่เป็นชุดบีจึงไม่มีข้อบังคับทางโครงสร้างลีกการแข่งขันระบุไว้ พวกเขาจึงสามารถส่งทีมไปแข่งขันกับคู่แข่งที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทีมระดับล่างในเกมฟุตบอลถ้วย หรือแม้แต่ทีมอคาเดมี่ของสโมสรชั้นนำทั้งในพรีเมียร์ลีก ตลอดจนทั่วยุโรป

ซึ่งผลงานของ โรเบิร์ต โรแวน ผู้อยู่เบื้องของการทำทีมชุดบี ที่สามารถเอาชนะทีมชั้นแนวหน้าได้อยู่เรื่อย ๆ เบรนท์ฟอร์ดชุดบี จึงกลายเป็นหนึ่งในทีมเนื้อหอมที่มีโปรแกรมการแข่งขันแน่นในทุก ๆ ฤดูกาล

  • สร้างความแตกต่างเพื่อไปสู่การเติบโต

โมเดลเบรนท์ฟอร์ดชุดบี คือการที่ให้นักเตะในทีมชุดบีได้มีโอกาสลงแข่งกับทีมใหญ่ เช่นหากมีนักเตะในชุดใหญ่บาดเจ็บก็สามารถที่จะนำตัวในทีมชุดบีลงเตะแทนได้ ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเตะในทีมชุดบีเลยก็ว่าได้และเป็นการสร้างกำลังใจให้กับนักเตะชุดเล็ก

โครงสร้างนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผล เพราะนับตั้งแต่เริ่มโครงการจนเข้าสู่ปีที่สามในฤดูกาล 2018-2019 พวกเขาสามารถส่งนักเตะขึ้นไปติดทีมชุดใหญ่ได้แล้วถึง 9 คน โดยในฤดูกาล 2016-2017 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกของโปรเจคนี้ ทีมบีส่งนักเตะขึ้นชุดใหญ่ได้ถึง 4 คน

ซึ่งมากกว่าที่นักเตะโควต้าโฮมโกรวน์ หรือที่ฝึกกับอคาเดมี่ของสโมสรทำได้มาตลอดทศวรรษก่อนหน้า และแม้แต่เฮดโค้ชของทีมบีอย่าง เควิน โอคอนเนอร์ ยังได้เลื่อนชั้นขึ้นไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีมชุดใหญ่ในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

ในความสำเร็จที่เบรนท์ฟอร์ดคิดต่างนี้ทำให้เริ่มมีทีมในอังกฤษที่ตัดสินใจรื้อโครงสร้างระบบอคาเดมี่ใหม่แล้ว หนึ่งในนั้นก็คือ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ ทีมในพรีเมียร์ลีก ซึ่งยกเลิกทีมเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 16 ปีทุกรุ่น และเน้นการคัดสรรนักเตะเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป โดยเหลือทีมเยาวชนเพียงแค่รุ่น U-18 และ U-23 เพื่อส่งแข่งขันในรายการที่พรีเมียร์ลีกและเอฟเอรับรองเท่านั้น

ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างถึงแม้ว่าจะดูเป็นสิ่งที่ยากแต่ในการออกนอกลู่นอกทางนั้นก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของสโมสรในอนาคต ซึ่งอัลลัน สตีล ผู้ช่วยโค้ชทีมชุดบีได้ให้การยอมรับและมองว่า ถ้าไม่กล้าที่จะแตกต่างก็จะไม่เกิดความก้าวหน้า

ซึ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาด้วยไอเดียที่ไม่มีใครคิดที่จะทำ และภายใน 2 ปีต่อจากนี้ก็จะมีคนที่คิดและทำแบบเราอยู่ดี โดยในระหว่างนี้หากเราสามารถนำหน้าคนอื่น ๆ ไปได้สักก้าวสองก้าวก็ถือได้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าไปแล้ว

เกียรติประวัติ

  • ลีก (ชนะเลิศและเลื่อนชั้น)
  • เซคกันด์ดิวิชั่น / เฟิสต์ดิวิชัน / แชมเปียนชิป (ระดับ 2)

ชนะเลิศ : 1934–35

  • เทิร์ดดิวิชัน / เซคกันด์ดิวิชั่น / ลีกวัน (ระดับ 3)
บทความแนะนำ  ประวัติทีม เวสต์บรอมวิช ข่าวนักเตะ ข้อมูลทั้งหมด ของสโมสร

ชนะเลิศ : 1932–33 (ตอนล่าง), 1991–92

รองชนะเลิศ : 1929–30, 1957–58, 1994–95, 2013–14

  • โฟร์ทดิวิชัน / เทิร์ดดิวิชัน / ลีกทู (ระดับ 4)

ชนะเลิศ : 1962–63, 1998–99, 2008–09

อันดับที่สาม : 1971–72

อันดับที่สี่ : 1977–78

  • เซาเทิร์นลีก เซคกันด์ดิวิชั่น: 1

1900–01

  • ลอนดอนลีกเฟิสต์ดิวิชัน: 1

รองชนะเลิศ: 1897–98

  • ลอนดอนลีกเซคกันด์ดิวิชัน: 1

รองชนะเลิศ: 1896–97

  • เวสต์ลอนดอนอัลไลแอนซ์: 1

1892–93

  • ถ้วย
  • มิลเดิลเซ็กซ์จูเนียร์คัพ: 1

1893–94

  • เวสต์มิลเดิลเซ็กซ์คัพ: 1

1894–95

  • ลอนดอนซีเนียร์คัพ: 1

1897–98

  • มิดเดิลเซ็กซ์ซีเนียร์คัพ: 1

1897–98

  • เซาเทิร์นโปรเฟสชันนัลชาริตีคัพ: 1

1908–09

  • อีลลิงฮอสพิทัลคัพ: 1

1910–11

  • ลอนดอนแชลเลนจ์คัพ: 3

1934–35, 1964–65, 1966–67

  • ช่วงสงคราม
  • ลอนดอนคอมบิเนชัน: 1

1918–19

  • ลอนดอนวอร์คัพ: 1

1941–42

ผู้เล่นชุดปัจจุบันของสโมสรฟุตบอลเบรนต์ฟอร์ด

  • ตำแหน่งผู้รักษาประตู

แอลเลอรี่ บาลคอมบ์ นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 25

ดาบิด ราย่า นักเตะสัญชาติสเปน อายุ 25 ปี สวมเสื้อเบอร์ 1

ลุค แดเนียลส์ นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 32 สวมเสื้อเบอร์ 28

  • ตำแหน่งกองหลัง

โดมินิท ทอมป์สัน นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 20 ปี สวมเสื้อเบอร์ 2

ริโก้ เฮนรี่ นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 23 ปี สวมเสื้อเบอร์ 3

ปอนตุส ยอนส์สัน นักเตะสัญชาติสวีเดน อายุ 29 ปี สวมเสื้อเบอร์ 18

ชาร์ลี กู๊ด นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 25 ปี สวมเสื้อเบอร์ 4

แมดส์ เบ็ก โซเรเซ่น นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 29

อีธาน พันน็อก นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 5

เฮนริก ดัลสการ์ด นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 31 ปี สวมเสื้อเบอร์ 22

แมดส์ โรเออร์สเลฟ ราสมันเซน นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 30

  • กองกลาง

คริสเตียน นอร์การ์ด นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 26 ปี สวมเสื้อเบอร์ 6

วิตาลี ยาเนลต์ นักเตะสัญชาติเยอรมนี อายุ 22 ปี สวมเสื้อเบอร์ 27

มาธิอัส เยนเซ่น นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 24 ปี สวมเสื้อเบอร์ 8

โจซัว ดา ซิลวา นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 22 ปี สวมเสื้อเบอร์ 14

ซานดอน บาปติสเต้ นักเตะสัญชาติเทรเนด้า อายุ 22 ปี สวมเสื้อเบอร์ 26

ซามาน ก๊อดดอส นักเตะสัญชาติอิหร่าน อายุ 27 ปี สวมเสื้อเบอร์ 20

เอมิเลียโน่ มาร์คอนเดส นักเตะสัญชาติเดนมาร์ก อายุ 25 ปี สวมเสื้อเบอร์ 9

  • กองหน้า

ทาริก โฟซู นักเตะสัญชาติกานา อายุ 25 ปี สวมเสื้อเบอร์ 24

เซร์กี้ ทานอส นักเตะสัญชาติสเปน อายุ 23 ปี สวมเสื้อเบอร์ 7

ไบรอัน เอ็มบูโม่ นักเตะสัญชาติฝรั่งเศส อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 19

อิวาน โทนีย์ นักเตะสัญชาติอังกฤษ อายุ 24 ปี สวมเสื้อเบอร์ 17

มาร์คุส ฟอร์สส์ นักเตะสัญชาติฟินแลนด์ อายุ 21 ปี สวมเสื้อเบอร์ 15

บทความที่น่าสนใจ