การท่าเรือ เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย โดยได้เข้ามาร่วมเล่นใน ไทยลีก ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งในอดีตสโมสรนี้มีชื่อว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การท่าเรือไทย และ สิงห์ท่าเรือ
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ |
ฉายา | สิงห์เจ้าท่า |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2510 |
สนาม | แพตสเตเดียม |
ความจุ | 8,000 ที่นั่ง |
เจ้าของ | บริษัท การท่าเรือ เอฟซี จำกัด |
ประธาน | นวลพรรณ ล่ำซำ |
ผู้จัดการ | สเป็นเซอร์ จัสติน ไพรออร์ |
ผู้ฝึกสอน | สระราวุฒิ ตรีพันธ์ |
ลีก | ไทยลีก |
2562 | ไทยลีก, อันดับ 3 |
ประวัติของสโมสร การท่าเรือ เอฟซี
สโมสร ก่อตั้งเมื่อปี 2510 ในชื่อ สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีนายกสโมสรคนแรก คือ พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร (ยศในขณะนั้น) อดีตผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุนกีฬาฟุตบอลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยเริ่มต้นส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน โดยชนะเลิศการแข่งขัน 3 สมัยติดต่อกันในปี 2510 – 2512 ทำให้ในปี 2513 จึงได้รับเชิญ เข้าร่วมการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน และได้ตำแหน่งชนะเลิศ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าร่วมการแข่งขัน
ต่อมาในช่วงปี 2519 ถึง 2522 นับว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดของสโมสร โดยสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศ ถ้วยพระราชทาน ได้ 3 สมัย และชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ ได้ในปี 2521-2523 (โดยในปี 2520 และ 2522 ได้ตำแหน่งชนะเลิศร่วมกัน) ขณะเดียวกัน ในการแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรือระหว่างประเทศ สโมสร ก็ยังสามารถทำผลงานได้ตำแหน่งชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลกีฬาท่าเรืออาเซียน 4 สมัย อีกด้วย
ต่อมาในปี 2534 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยให้สโมสรที่ลงทำการแข่งขันในระดับ ถ้วยพระราชทาน เป็นทีมยืนในการแข่งขัน โดยสโมสรต้องยกเลิกการส่งสโมสรเข้าร่วมแข่งขันใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ทุกประเภท เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกอาชีพในขณะนั้น
ในปี 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาล 2539/40 ขึ้น โดยเป็นหนึ่งใน 18 สโมสรแรกที่ร่วมทำการแข่งขัน และทำผลงานโดยจบอันดับที่ 11 จาก 18 สโมสร
และในปี 2552 หลังจากที่ได้มีการปรับโครงสร้างของลีกให้เป็นมืออาชีพ สโมสร ก็ต้องทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลด้วย โดยได้มีการจดทะเบียนในนาม บจก.สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย โดยมี พิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร และในปีนั้น สโมสรสามารถชนะเลิศการแข่งขัน ไทยแลนด์ เอฟเอคัพ ได้โดยเอาชนะจุดโทษ สโมสรบีอีซี เทโรศาสน 5-4 ซึ่งเป็นการได้ตำแหน่งชนะเลิศครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดยความสำเร็จครั้งสุดท้ายคือ ชนะเลิศ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ เมื่อปี 2536
ต่อมา ในปี 2555 ได้มีการเปลียนแปลงผู้บริหาร ทำให้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ท่าเรือ พร้อมกับเปลี่ยนทีมผู้ฝึกสอนและผู้บริหารทั้งหมด และได้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นประธานกิตติมศักดิ์ (ในฐานะประธานคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย) และ ทรง วงศ์วานิช เป็นประธานสโมสร โดยในปีนั้น สโมสร ซึ่งทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2556 ทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจ โดยจบด้วยตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันไทยลีกอีกครั้ง
ต่อมาในปี 2557 ทางคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มีมติ นำสิทธิ์การบริหารคืน หลังจากที่ผู้บริหารชุดเดิม ได้คืนสิทธิ์ให้ โดยได้จัดตั้ง บจก.การท่าเรือ เอฟซี เข้ามาบริหารแทน เพื่อแข่งขันใน ไทยลีก 2558 โดยมี พล.ร.อ.อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร และมี สมชาย ชวยบุญชุม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน ต่อมาช่วงก่อนเปิดเลกสอง นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีม ฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ได้ร่วมทำสัญญาและเข้ามาบริหารสโมสร จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย รวมไปถึงเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และฉายาใหม่เป็น อาชาท่าเรือ แต่ต่อมาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ได้ขอเปลี่ยนชื่อทีมใช้แบบเดิมในชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ แต่ผลงานของสโมสรกลับไม่ดี โดยตกชั้นในอันดับที่ 17 ของตาราง
ในฤดูกาล 2559 ที่สโมสรลงไปทำการแข่งขันในดิวิชั่น 1 สโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกอีกครั้ง โดยจบด้วยอันดับที่ 3 โดยในปีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตราสโมสร โดยกลับมาใช้รูปสิงห์อีกครั้ง รวมไปถึงการกลับมาใช้ฉายา สิงห์เจ้าท่า อีกครั้งผู้จัดการทีมการท่าเรือ เอฟซี โชคทวี พรหมรัตน์
รายชื่อนักเตะทีมการท่าเรือ เอฟซี
รายเชื่อนักเตะทีมการท่าเรือ เอฟซีมีดังนี้
เบอร์เสื้อ | นักเตะ | ตำแหน่ง | สัญชาติ | อายุ |
18 | รัตนัย ส่องแสงจันทร์ | ผู้รักษาประตู | ไทย | 25 |
36 | วรวุฒิ ศรีสุภา | ผู้รักษาประตู | ไทย | 28 |
25 | ชัชรินทร์ ภูต่างแดน | ผู้รักษาประตู | ไทย | 21 |
1 | วัชระ บัวทอง | ผู้รักษาประตู | ไทย | 27 |
21 | จตุรภัทร สัทธรรม | กองหลัง – แบ็คซ้าย | ไทย | 21 |
15 | มาร์ติน สตูเบิล | กองหลัง – แบ็คซ้าย | ฟิลิปปินส์ | 32 |
3 | ทิตาธร อักษรศรี | กองหลัง – แบ็คซ้าย | ไทย | 23 |
22 | ดาบิด โรเชล่า | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | สเปน | 30 |
24 | วรวุฒิ นามเวช | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 25 |
6 | ทศพล ลาเทศ | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 31 |
20 | อดิศร พรหมรักษ์ | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 27 |
2 | ทิตาวีร์ อักษรศรี | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 23 |
4 | เอเลียส ดอเลาะ | กองหลัง – เซ็นเตอร์แบ็ค | ไทย | 27 |
34 | นิติพงษ์ เสลานนท์ | กองหลัง – แบ็คขวา | ไทย | 27 |
71 | ธนบูรณ์ เกศารัตน์ | กองกลาง – มิดฟิลด์ตัวรับ | ไทย | 27 |
17 | ชาริล ชัปปุยส์ | กองกลาง – มิดฟิลด์ตัวกลาง | ไทย | 29 |
31 | กานต์นรินทร์ ถาวรศักดิ์ | กองกลาง – มิดฟิลด์ตตัวกลาง | ไทย | 23 |
16 | ศิวกร จักขุประสาท | กองกลาง – มิดฟิลด์ตัวกลาง | ไทย | 28 |
8 | โก ซุล กิ | กองกลาง – มิดฟิลด์ตัวกลาง | เกาหลีใต้ | 34 |
11 | ธนาสิทธิ์ ศิริผลา | ตัวรุก – ปีกซ้าย | ไทย | 25 |
10 | บดินทร์ ผาลา | ตัวรุก – ปีกซ้าย | ไทย | 26 |
5 | เซร์คิโอ ซัวเรซ | กองกลาง – ตัวรุก | สเปน | 34 |
45 | ณัฐวุฒิ สมบัติโยธา | กองกลาง – ตัวรุก | ไทย | 24 |
13 | นูรูล ศรียานเก็ม | ตัวรุก – ปีกขวา | ไทย | 28 |
7 | ปกรณ์ เปรมภักดิ์ | ตัวรุก – ปีกขวา | ไทย | 27 |
99 | เนลสัน โบนีญ่า | ตัวรุก – ตัวเป้า | เอล ซัลวาดอร์ | 30 |
94 | ยานนิค โบลี | ตัวรุก – ตัวเป้า | โกตดิวัวร์ | 33 |
9 | อดิศักดิ์ ไกรษร | ตัวรุก – ตัวเป้า | ไทย | 29 |
28 | ภัทรพล เจียมกิ่ง | attack | ไทย | 24 |
70 | พชร ชัยณรงค์ | attack | ไทย | 20 |
ผลงานของสโมสรการท่าเรือ เอฟซีในแต่ละฤดูกาล
ผลงานของการท่าเรือ เอฟซีมีทั้งหมดดังนี้
ฤดูกาล 2018
ไทยลีก 2018 การท่าเรือ เอฟซี สามารถจบฤดูกาลแข่งขัน ในอันดับ 3 มีลุ้นไปแข่งขันฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก (ในกรณีที่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้แชมป์ ไทยลีก และ ไทยเอฟเอคัพ) พร้อมกับต่อสัญญา จเด็จ มีลาภ ออกไปอีก 1 ปี
ฤดูกาล 2017
ไทยลีก 2017 การท่าเรือ เอฟซี สร้างความฮือฮา ด้วยการแต่งตั้ง เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย เข้ามาคุมทีม แต่หลังจากไม่ประสบความสำเร็จ ก็ประกาศลาออก ส่งกลับมาให้ จเด็จ มีลาภ คุมทีมเช่นเดิม จบฤดูกาล 2017 การท่าเรือ เอฟซี ประคองตัวจบในอันดับที่ 9 ของตารางคะแนน
ฤดูกาล 2016
ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016 การท่าเรือ เอฟซี จบฤดูกาลด้วยอันดับ 3 (ยุติการแข่งขัน เหลือการแข่งขัน 2 นัด) ได้สิทธิเลื่อนชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 2017
ฤดูกาล 2015
ไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015 การท่าเรือ เอฟซี จบฤดูกาลด้วยอันดับ 17 ทำให้ต้องไปแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2016
ผลงาน 4 นัดแรกของการท่าเรือเอฟซี
การท่าเรือ เอฟซี ผ่าน 4 นัดแรกของศึกไทยลีก 2020 ด้วยชัยชนะ 3 นัด และเสมอ 1 นัด ทำให้มี 10 แต้ม จากผลชนะ นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี 4-1, ชนะ สมุทรปราการ ซิตี้ 4-1, ชนะ สุโขทัย ยูไนเต็ด 2-1 และ เสมอ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 1-1 ซึ่งได้กลายเป็นสถิติการเปิดตัว 4 นัดแรกของซีซั่นไทยลีกที่ดีที่สุดของ “สิงห์เจ้าท่า” ไปเรียบร้อยด้วย และพวกเขามีโปรแกรมการแข่งขันในศึกไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020 นัดที่ 5 จะเปิดบ้านพบกับ โปลิศ เทโร เอฟซี ในวันอาทิตย์ที่ 13 ก.ย.63 ที่สนามแพท สเตเดี้ยม เวลา 18.00 น.
โดย การท่าเรือ เอฟซี มีสนามเหย้าคือ แพท สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ความจุรวมประมาณ 5,000 ที่นั่ง, มี “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ เป็นประธานสโมสร เคยได้แชมป์เอฟเอคัพ 2 สมัย (พ.ศ. 2552, 2562), ลีกคัพ 1 สมัย (2553), แชมป์ถ้วย ก. 8 สมัย (2511, 2515, 2517, 2519, 2521, 2522, 2528, 2533), ถ้วย ข. 5 สมัย (2513, 2519, 2522, 2526, 2535), ถ้วย ค. 4 สมัย (2512, 2517, 2520, 2521), ถ้วย ง. 3 สมัย (2510, 2511, 2512) และ ฟุตบอลถ้วยควีนส์คัพ 6 สมัย (2520, 2521, 2522, 2523, 2530, 2536)
เงินสนับสนุนของทีมการท่าเรือเอฟซี
เป้าหมายของการลุ้นแชมป์ของการท่าเรือเอฟซีต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เพื่อสู้ระดับบิ๊กทีมในไทยลีกให้ได้ โดยคาดว่างบประมาณที่ใช้ในครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาทแน่นอน ซึ่งนอกจากค่าตัวนักเตะที่ทีมทุ่มงบไปจำนวนมากแล้วก็เพื่อบริหารทีมด้วย ซึ่งสปอนเซอร์หลักของทีมก็ยังคงเป็น เมืองไทยประกันชีวิต ที่มี “มาดามแป้ง” เป็นผู้บริหาร ส่วนสปอนเซอร์หลักอื่น ๆ ก็ยังมี แอร์เอเชีย, ลีโอ, TQM, แบรนด์ชุดกีฬาสัญชาติไทย แกรนด์สปอร์ต
10 เรื่องน่ารู้ของทีมการท่าเรือ เอฟซี
1. เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในไทยลีก
สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 โดยพลตรี ประจวบ สุนทรางกูร อดีตผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นประธานสโมสรคนแรก นับถึงวันนี้ก็มีอายุมากถึง 53 ปี แล้วกับการลงแข่งขันฟุตบอลในเมืองไทย
2. เปลี่ยนสิทธิ์ทำทีมและผู้บริหารมาหลายรอบ
หลังจากเข้าสู่การแข่งขันในระบบฟุตบอลอาชีพ ทำให้ต้องมีการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล ซึ่งก็ทำให้มีการเปลี่ยนทีมงานผู้บริหารมาหลายรอบ โดยในช่วงฤดูกาล 2009 ที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลครั้งแรกในชื่อ บริษัทสโมสรการท่าเรือไทย จำกัด โดยมีนายพิเชษฐ์ มั่นคง เป็นประธานสโมสร ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใช้ชื่อสโมสรว่าการท่าเรือไทย เอฟซี
จากนั้นในปี 2011 ทีมประสบปัญหาสภาพคล่องเรื่องงบประมาณการทำทีม โดยมีหนี้อยู่ประมาณ 50 ล้านบาท แต่ก็ได้ บ.ซูเปอร์ริช (แบงค็อก) จำกัด บริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยมีนายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ เข้ามาร่วมบริหารจัดการทีมและเป็นนายทุนใหญ่ โดยยังใช้ชื่อการท่าเรือไทย เอฟซี เหมือนเดิม แต่ก่อนเปิดฤดูกาลนายพิเชษฐ์ มั่นคง ได้ขอลาออกจากตำแหน่งประธาน และเป็น พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เข้ามาเป็นประธานคนใหม่
ต่อมาฤดูกาล 2013 ทีมตกชั้นไปดิวิชั่น 1 ก็ได้กลุ่มทุนรายใหม่เข้ามาทำทีมภายใต้การนำของ “บิ๊กแจ้ส” พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ที่เข้ามาเป็นประธานกิตติมศักดิ์ โดยให้นายแพทย์ทรง วงษ์วานิช เข้ามานั่งเป็นประธานสโมสร และมีลูกชายอย่าง “บิ๊กโบว์ลิ่ง” ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม พร้อมตั้ง “โค้ชโอ่ง” ดุสิต เฉลิมแสน เข้ามาเป็นเฮดโค้ช โดยตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ บริษัทสิงห์ท่าเรือ จำกัด พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อและตราสโมสรใหม่เป็น สโมสรสิงห์ท่าเรือ เอฟซี
บริษัทสิงห์ท่าเรือ บริหารงานมาจนจบฤดูกาล 2014 ก็หมดสัญญาเอ็มโอยูที่ทำไว้กับการท่าเรือ และไม่สามารถตกลงสัญญาใหม่กันได้ทำให้ต้องคืนสิทธิ์กลับมาที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ในฤดูกาล 2015 ซึ่งก่อนเปิดฤดูกาลทีมมีปัญหาเรื่องงบประมาณทำทีม และเกือบจะต้องยุบทีมไป แต่สุดท้ายได้ “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ เข้ามาเทคโอเวอร์ และเซ็นสัญญายาว 5 ปี ในชื่อสโมสร “การท่าเรือ เมืองไทยประกันภัย เอฟซี” พร้อมทั้งเปลี่ยนโลโก้เป็นรูปม้า และฉายาใหม่เป็น “อาชาผยอง”
หลังจากนั้นทีมก็ตกชั้นไปดิวิชั่น 1 อีกครั้งในฤดูกาล 2016 มีการเปลี่ยนแปลงชื่อทีมเหลือแค่ “การท่าเรือ เอฟซี” เปลี่ยนโลโก้มาเป็นสิงโตอีกครั้ง และกลับมาใช้ฉายา “สิงห์เจ้าท่า” เหมือนเดิม และมาดามแป้งก็ต่อสัญญาทำทีมยาวมาจนถึงปัจจุบันนี้
3. ตกชั้นสู่ดิวิชั่น 1 สองครั้ง
ตั้งแต่ลงเตะฟุตบอลไทยลีก ครั้งแรกเมื่อปี 2539 จนถึงปัจจุบัน ทีมฟุตบอลการท่าเรือ เอฟซี ตกชั้นไปเล่นดิวิชั่น 1 สองครั้งด้วยกัน คือในฤดูกาล 2013 และในฤดูกาล 2016 แต่ก็ใช้เวลาเพียงปีเดียวในการกลับสู่ลีกสูงสุดได้ทั้งสองครั้ง
4. เปลี่ยนโลโก้มาแล้ว 6 ครั้ง
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสโมสรการท่าเรือ มีโลโก้ทั้งหมด 6 เวอร์ชั่น ตั้งแต่เป็นรูปสมอเรือ, มาเป็นรูปปลาโลมาน่ารักใช้มาตั้งแต่ก่อนเล่นไทยแลนด์ลีกจนมาถึงปี 2008 และต่อด้วยตราสิงโต ตั้งแต่ปี 2009-2012 และมาเป็นตราสิงห์ท่าเรือ ปี 2013-2014 และก็มาเป็นรูปม้า ในชื่อการท่าเรือเมืองไทยฯ ปี 2015 ก่อนจะมาเป็นโลโก้สิงโตอีกครั้งในปี 2016 จนถึงปัจจุบัน
5. กุนซือคนแรกตั้งแต่เริ่มเตะไทยลีก “เชิดศักดิ์ ชัยบุตร”
สำหรับกุนซือคนแรกของสโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่เข้าสู่ระบบลีกอาชีพในการแข่งขันไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ปี 2539 คือ “น้าเชิด” เชิดศักดิ์ ชัยบุตร กุนซือฉายา “โค้ชหมอผี” ที่คุมทีมมาตั้งแต่ก่อนลงเล่นไทยแลนด์ลีก จากนั้นก็มาเป็น “น้ากอ” ดาวยศ ดารา อดีตตำนานของทีมสิงห์เจ้าท่า และทีมชาติไทย ที่มาคุมทีมต่อ
6. กัปตันทีมคนแรกในไทยลีก “ประภาส ฉ่ำรัศมี”
ในปีแรกที่การท่าเรือ เอฟซี ลงเตะฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ปี 2539 กัปตันทีมคนแรกก็คือผู้เล่นหมายเลข 8 ประภาศ ฉ่ำรัศมี พ่อของ พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี นักเตะทีมชาติไทยชุดปัจจุบัน
7. เคยใช้โค้ชต่างชาติ 2 คน
ตั้งแต่ไทยลีกหนแรกปี 2539 จนถึงปัจจุบัน การท่าเรือใช้โค้ชมาทั้งหมด 18 คน โดยทั้ง 16 คนเป็นกุนซือชาวไทย มีเพียง 2 รายเท่านั้นที่เป็นต่างชาติ คนแรกคือ แกรี่ สตีเว่น เฮดโค้ชชาวอังกฤษ ที่มาคุมทีมช่วงสั้น ๆ ปี 2015 และมาซาฮิโระ วาดะ โค้ชชาวญี่ปุ่น ที่มาคุมทีมช่วงท้ายฤดูกาล 2015 และฤดูกาล 2016 ในดิวิชั่น 1 ในเลกแรก
8. ดาวซัลโวสูงสุด “ศรายุทธ ชัยคำดี”
ดาวซัลโวสูงสุดของการท่าเรือคือ “โจ้ 5 หลา” ศรายุทธ ชัยคำดี ที่เล่นให้ทีมสิงห์เจ้าท่าถึง 3 รอบ และเป็นดาวซัลโวไทยลีก 2 สมัย ในปี 2545/46 และ 2547/48 โดยในช่วงที่ ศรายุทธ ลงเล่นฟุตบอลในสีเสื้อการท่าเรือ ยิงประตูไปได้ทั้งหมด 52 ประตู
9. ลงสนามมากที่สุด “ปิยพันธ์ ชบา”
ในส่วนของนักเตะที่ลงเล่นให้สโมสรการท่าเรือ ยาวนานและลงเล่นเป็นจำนวนนัดมากที่สุดก็คือ “ปินพันธ์ ชบา” อดีตกัปตันทีมสิงห์เจ้าท่า ที่มีชื่ออยู่ในทีมตั้งแต่ไทยลีกสมัยแรก รับใช้สโมสรยาวนานกว่า 12 ปี จนถึงปี 2008 ลงเล่นทั้งหมด 183 นัด และหลังจากเลิกเล่นก็ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของสโมสรการท่าเรือด้วย
10. แชมป์รายการสำคัญ
สำหรับแชมป์รายการสำคัญของการท่าเรือ เอฟซี นับเฉพาะเข้าสู่ระบบลีกอาชีพ พวกเขาได้แชมป์เมเจอร์ 3 ครั้ง คือเอฟเอ คัพ 2 สมัย ในปี 2009 และ 2019 อีกรายการคือ ลีก คัพ เมื่อฤดูกาล 2010
ความฝันของทีมการท่าเรือ เอฟซี
ความฝันของทีมการท่าเรือ คือ การเป็นเบอร์หนึ่งของไทยลีก การไปอยู่ในจุดสูงสุดของไทยลีก การเป็นแชมป์ในรายการต่าง ๆ และความฝันอีกอย่างของ การท่าเรือ ณ ตอนนี้ คือการเอาชนะยอดทีมอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ซึ่งทีมการท่าเรือ ไม่สามารถเอาชนะ เอสซีจี เมืองทอง มาแล้วถึง 10 ปี ในบ้านของตัวเอง นับได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีนักต่อทีม การแพ้ว่าหนักแล้ว แต่เป็นการแพ้ในบ้านตัวเองอีก ถึง 10 ปี ดังนั้น การลบสถิติแพ้ในบ้าน จึงเป็นหนึ่งในความฝันของ ทีมการท่าเรือ และเป็นความฝันของแฟนบอล ทีมการท่าเรืออีกด้วย